วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Log ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
            การเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วย ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย เพื่อให้คนไทย ผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันที ไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล ซึ่งองค์ประกอบย่อยของการแปล คือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร
            คำและความหมาย คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ
            สำนวนโวหาร ซึ่งในการแปลขั้นสูงนี้ ผู้แปลจะต้องรู้จักสำนวนการเขียน และการใช้โวหารหลายๆ แบบ การอ่านมากจะทำให้คุ้นกับสำนวนโวหารแบบต่างๆ แต่ถ้าไม่เข้าใจก็จะได้ผลตรงกันข้าม
            โวหารภาพพจน์ คือสิ่งที่ผู้แปลจะต้องทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ผู้อ่านควรวางใจเป็นกลาง และศึกษาแนวคิดในการใช้โวหารภาพพจน์ ซึ่งผู้เขียนทั้งเก่าใหม่ ทุกชาติทุกภาษาจะใช้โวหารร่วมกันดังนี้ คือ
1.            โวหารอุปมา คือ การสร้างภาพพจน์เปรียบเทียบ โดยมีจุดมุ่งหมายชี้แจงอธิบาย พูดพาดพิงหรือเสริมให้งดงามขึ้น
2.            โวหารอุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนและความไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว
3.            โวหารเย้ยหยัน คือการใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล้อ เย้ยหยัน เหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของสิ่งที่ต้องกล่าวถึง
4.            โวหารขัดแย้ง คือการใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาเรียงต่อกันโดยการรักษาสมดุลไว้
5.            โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด ได้แก่การนำคุณสมบัติเด่นๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนที่จะเอ่ยนามสิ่งนั้นออกมาตรงๆ
6.            โวหารบุคคลาธิษฐาน คือการนำสิ่งต่างๆที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งความคิด การกระทำ และนามธรรมอื่นๆ มากล่าวเหมือนเป็นบุคคล
7.            โวหารที่กล่าวเกินจริง คือมีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญ ชี้ให้ชัดเจนและเด่น และเพื่อใช้แสดงอารมณ์ที่รุนแรง
ลักษณะที่ดีของสำนวนโวหาร ดังต่อไปนี้
1.            ถูกหลักภาษา
2.            ไม่กำกวม
3.            มีชีวิตชีวา
4.            สมเหตุสมผล
5.            คมคายเฉียบแหลม

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คือการภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นเอง ในการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านที่เป็นคนไทย ได้เข้าใจในความหมายได้อย่างชัดเจนและถูกต้องในการแปลต่างๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น