วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
            หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้ เป็นการถอดโดยวิธีการถ่ายเสียง (Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ โดยจะใช้
1.            ตารางเทียบเสียงพยัญชนะและสระ
2.            ความหมายของคำ
2.1    หน่วยคำ คือหน่วยที่เล็กที่สุดและมีความหมาย
2.2    คำ คือ หน่วยคำ 1 หน่วยคำหรือมากกว่านั้น
2.3    คำประสม คือ หน่วยคำตั้งแต่ 2 หน่วยคำขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วมีความหมายใหม่หรือความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม
2.4    คำสามานยนาม จะมีคำนามทั่วไป และ ชื่อภูมิศาสตร์
2.5    คำวิสามานยนาม หมายถึงคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ
2.6    คำนำหน้านาม หมายถึง คำที่อยู่หน้าวิสามานยนาม
2.7    คำทับศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย อาจเป็นคำสามานยนาม หรือคำวิสามานยนามก็ได้
3.            การใช้เครื่องหมาย ในกรณีซึ่งมีคำหลายพยางค์ อักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้ากับอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมา อาจทำให้อ่านยากหรืออ่านผิดได้ ให้ใช้เครื่องหมาย เพื่อแยกพยางค์
4.            การแยกคำ ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันให้เขียนแยกเป็นคำๆ ยกเว้นคำประสมซึ่งถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามานยนามที่เป็นชื่อบุคคลให้เขียนติดกัน
5.            การใช้อักษรโรมันตัวใหญ่
6.            การถอดชื่อภูมิศาสตร์ ให้ถอดคำสามานยนามที่เป็นชื่อภูมิศาสตร์เป็นอักษรโรมันโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ
7.            การถอดคำทับศัพท์ ถ้าเป็นคำวิสามานยนาม ให้เขียนตามภาษาเดิม ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของวิสามานยนามและไม่ประสงค์จะแปลชื่อวิสามานยนามนั้น ให้เขียนทับศัพท์เป็นอักษรโรมันตามการออกเสียงในภาษาไทย
8.            การถอดเครื่องหมายต่างๆ
9.            การถอดคำย่อ ให้อ่านเต็มตามหลักการ และให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มตามคำอ่าน

ซึ่งทั้งหมดนี้นั้นคือหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

Log Model

Model
            ในการเขียน Paragraph ทั่วไปจะมีหลักมีขั้นตอนในการเขียน และจะต้องมีความสัมพันธ์กันกับความคิดและหัวข้อเรื่อง ซึ่งจะแบ่งได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ตาม model 1
            คือจะมี Title ซึ่งเป็นหัวข้อเรื่อง และตามด้วย Thesis Statement ตามด้วย Main idea 1 ก็คือประโยคหลัก และตามด้วย Supporting Idea อย่างน้อย 2 ประโยคเพื่อเป็นประโยคมาสนับสนุนประโยคหลัก และต้องมี Main Idea 3 ประโยค และทุก Main Idea จะต้องมีประโยค Supporting Idea ก็จะกลายเป็น paragraph ที่สมบูรณ์แบบ

            ซึ่งใน model 1 นี้ จะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละ ideas การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความคิดในการเขียนคือการพัฒนา main ideas ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลสอดคล้องกัน และความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในแต่ละประโยค ความสัมพันธ์เหล่านี้จะเรียงจากมากมาน้อย main ideas จะต้องสัมพันธ์และตอบสนองกับหัวข้อเรื่อง และประโยคที่มาสนับสนุนจะต้องมีการอธิบาย ให้ตัวอย่างและให้หลักฐานเพื่อพัฒนาหัวข้อหลักต่อไป

Log ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ

ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
            การเขียนบทแปลที่ดีต้องเขียนด้วย ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ซึ่งหมายถึงภาษาเขียน ภาษาพูดที่คนไทยทั่วไปใช้กันจริงในสังคมไทย เพื่อให้คนไทย ผู้อ่านผู้ใช้งานสามารถเข้าใจได้ทันที ไม่มีอุปสรรคในการรับสารที่สื่อจากบทแปล ซึ่งองค์ประกอบย่อยของการแปล คือ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร
            คำและความหมาย คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันหลายอย่างมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝง หรือความหมายเชิงเปรียบเทียบ
            สำนวนโวหาร ซึ่งในการแปลขั้นสูงนี้ ผู้แปลจะต้องรู้จักสำนวนการเขียน และการใช้โวหารหลายๆ แบบ การอ่านมากจะทำให้คุ้นกับสำนวนโวหารแบบต่างๆ แต่ถ้าไม่เข้าใจก็จะได้ผลตรงกันข้าม
            โวหารภาพพจน์ คือสิ่งที่ผู้แปลจะต้องทำความเข้าใจอย่างแท้จริง ผู้อ่านควรวางใจเป็นกลาง และศึกษาแนวคิดในการใช้โวหารภาพพจน์ ซึ่งผู้เขียนทั้งเก่าใหม่ ทุกชาติทุกภาษาจะใช้โวหารร่วมกันดังนี้ คือ
1.            โวหารอุปมา คือ การสร้างภาพพจน์เปรียบเทียบ โดยมีจุดมุ่งหมายชี้แจงอธิบาย พูดพาดพิงหรือเสริมให้งดงามขึ้น
2.            โวหารอุปลักษณ์ คือ การเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนและความไม่เหมือนของสิ่งที่จะเปรียบเทียบมากล่าว
3.            โวหารเย้ยหยัน คือการใช้คำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล้อ เย้ยหยัน เหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของสิ่งที่ต้องกล่าวถึง
4.            โวหารขัดแย้ง คือการใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาเรียงต่อกันโดยการรักษาสมดุลไว้
5.            โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด ได้แก่การนำคุณสมบัติเด่นๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนที่จะเอ่ยนามสิ่งนั้นออกมาตรงๆ
6.            โวหารบุคคลาธิษฐาน คือการนำสิ่งต่างๆที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งความคิด การกระทำ และนามธรรมอื่นๆ มากล่าวเหมือนเป็นบุคคล
7.            โวหารที่กล่าวเกินจริง คือมีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้เห็นความสำคัญ ชี้ให้ชัดเจนและเด่น และเพื่อใช้แสดงอารมณ์ที่รุนแรง
ลักษณะที่ดีของสำนวนโวหาร ดังต่อไปนี้
1.            ถูกหลักภาษา
2.            ไม่กำกวม
3.            มีชีวิตชีวา
4.            สมเหตุสมผล
5.            คมคายเฉียบแหลม

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คือการภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นเอง ในการแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านที่เป็นคนไทย ได้เข้าใจในความหมายได้อย่างชัดเจนและถูกต้องในการแปลต่างๆ

Log The Passive

The Passive
            ประโยค passive นั้นคือประโยคที่ธรรมดาทั่วไปก็คือ Subject  +  Verb  +  Object  โดยจะสื่อว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ถูกกระทำโดย Subject การที่ใช้ passive voice ได้ ชนิดของ verb ต้องเป็น Transitive Verb คือ Verb ที่ต้องการกรรมเท่านั้น
            ซึ่งโครงสร้างของประโยค passive voice มีตาม Tense ทั้ง 12 ดังต่อไปนี้
- Present Simple:  S + is , am , are + V3 + by…
- Present Continuous: S+ is , am , are + being + V3 + by…
- Present Perfect:  S + have , has + been + V3 + by….
- Present Perfect Continuous: S + have + been + being + V3 + by…

- Past Simple:  S +was , were + V3 + by…
- Past Continuous: S+ was , were + being + V3 + by…
- Past Perfect:  S + had+ been + V3 + by….
- Past Perfect Continuous: S + had + been + being + V3 + by …

- Future Simple:  S +will + be + V3 + by…
- Future Continuous: S+ will + be + being + V3 + by …
- Future Perfect:  S + will+ have +been + V3 + by ….
- Future Perfect Continuous: S + will + have + been + being + V3 + by …

            ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้นั้นก็คือโครงสร้างของประโยค passive นั้นเอง ซึ่งประโยค passive นี้ก็คือเป็นโยคที่ประธานนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ



Log หลักการแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม
            วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้วิธีร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานของกวีโบราณหรือปัจจุบัน ซึ่งจะรวมเรียกว่า วรรณคดีด้วย ซึ่งงานทางด้านบันเทิงคดีนั้นผู้อ่านจะมุ่งหวังที่จะได้รับความบันเทิงเพลิดเพลินเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการค้นหาความรู้ ข้อมูลต่างๆ จะเป็นจุดประสงค์รองลงมา ซึ่งจะต้องรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้อง
            ซึ่งหลักการแปลนวนิยายนั้น ผู้แปลสามารถค้นหาถ้อยคำสำนวนสละสลวยไพเราะเพื่อให้สอดคล้องกับต้นฉบับได้เป็นอย่างดี
1.            การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม จะมีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพื่อบอกคุณลักษณะของงานเพื่อเร้าใจผู้อ่านผู้ชมให้สนใจ และเพื่อบอกผู้อ่านเป็นนัยๆ ว่าผู้เขียนต้องการสื่ออะไรต่อผู้อ่าน ซึ่งจะมี 4 แบบ คือ
 แบบที่ 1 ไม่แปล แต่ใช้ชื่อเดิมเขียนเป็นภาษาไทยโดยวิธีการถ่ายทอดเสียง
แบบที่ 2 แปลตรงตัว โดยรักษาคำและความหมายไว้ด้วยภาษาไทยที่ดีและกะทัดรัด
แบบที่ 3 แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน จะใช้ต่อเมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไปไม่ดึงดูด และไม่สื่อความหมายเพียงพอ
แบบที่ 4 ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง ต้องใช้ความเข้าใจวิเคราะห์ได้
2.            การแปลบทสนทนา เป็นปัญหายุ่งยากของการแปลคือ บทสนทนา หรือถ้อยคำตอบโต้กันของตัวละคร ซึ่งจะใช้ภาษาพูดหลายระดับ ซึ่งจะเต็มไปด้วยคำแสลง  คำสบถ หรือคำอื่นๆที่ใช้กันตามความจริง
3.            การแปลบทบรรยาย จะเป็นข้อความที่เขียนเล่าเรื่องเหตุการณ์ ซึ่งจะใช้ภาษาเขียนหลายระดับ ซึ่งจะพบความยุ่งยากเกิดจากภาษาสองประเภท คือภาษาในสังคม กับภาษาวรรณคดี
ขั้นตอนในการแปลวรรณกรรม ควรปฏิบัติดังนี้
1.            อ่านเรื่องราวให้เข้าใจตลอด สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่จะแปลได้ ย่อความได้ จับประเด็นของเรื่องได้ ทำแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญในเรื่อง
2.            วิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน ค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จัก ค้นหาความกระจ่างของข้อความที่ไม่เข้าใจ
3.            ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่าย

            

Log Text Types

Text types
                รูปแบบการเขียน หมายถึง การเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบนั้นๆ ซึ่งรูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียนนั้นเช่นกัน อาทิ เพื่อแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น เพื่อจินตนาการ     เล่าเรื่อง เพื่อความบันเทิงหรือสนุกสนาน เพื่อบรรยาย โน้มน้าวหรือชักจูง ขอร้อง สืบสอบหรือตั้งคำถาม หรือเพื่อทำความกระจ่างในความคิด แต่ละงานเขียนย่อมมีความแตกต่างแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตาม และรู้สึกชอบและติดตามในงานเขียน
            การเขียนบรรยาย (Description) เป็นข้อเขียนที่ให้รายละเอียดของคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง ข้อเขียนแบบนี้จะใช้อยู่ในข้อเขียนแบบอื่นๆด้วย ซึ่งจะกล่าวถึง อะไร  ที่ไหน เมื่อไร  ดูเป็นอย่างไร เสียงเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร ให้ความรู้สึกอย่างไร มีความเป็นพิเศษเพราะอะไร เป็นต้น  การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ ตอนรายละเอียด เป็นการบรรยายคุณลักษณะบุคคล หรือสิ่งของ และตอนสรุปใจความสำคัญ
การเขียนเล่าเรื่อง (Narrative) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึง ต่างๆที่ให้ความบันเทิง กระตุ้น หรือสอน  มุ่งที่จะให้ผู้อ่านเกิดความตั้งใจ และคงความสนใจไว้ได้นาน เรื่องมีหลายประเภท ได้แก่ ละครเหมือนชีวิตจริง เรื่องเชิงจินตนาการ เรื่องผจญภัย นิยายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องลึกลับ เทพนิยาย นิทาน ตำนาน เป็นต้น
            การเขียนเล่าเหตุการณ์ (Recount) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเหตุการณ์หรือประสบการณ์ ที่ผ่านมา เรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ กล่าวถึง อะไรที่เกิดขึ้นตามลำดับของเวลา โดยใช้คำเกี่ยวกับเวลา รวมทั้งคำคุณศัพท์ ข้อความที่เขียนเป็นเรื่องของอดีตและตอนสรุปจะเป็นการกล่าวถึงข้อคิดเห็นส่วนตัวว่า ผู้เขียนคิดอะไร รู้สึกอย่างไร กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเขียนมีลักษณะเป็นส่วนตัวจะใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
            การเขียนอภิปราย (Discussion) เป็นข้อเขียนที่กล่าวทั้งข้อดีและข้อเสียของหัวข้อปัญหา โดยแสดงเหตุผลที่สนับสนุนและคัดค้านในเรื่องนั้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน คือตอนที่ว่าด้วยหัวข้อปัญหา เป็นการแนะนำหัวข้อปัญหาว่า คืออะไร กล่าวถึงกลุ่มที่ต่างกัน มีความเห็นต่างกัน ตอนที่ว่าด้วยเหตุผล กล่าวถึงประเด็นและหลักฐานของกลุ่ม ที่สนับสนุนและค้าน จะประกอบด้วยกลุ่มที่สนับสนุน และกลุ่มที่ค้าน สุดท้ายตอนสรุป เป็นการสรุปความถึงเหตุผลและผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะอะไร เพราะเหตุใด
            การเขียนอธิบาย (Expository) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย เรียงความเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง เป็นข้อเขียนที่แสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง เรียงความเกี่ยวกับวิธีการ การเขียนเกี่ยวกับวิธีการเป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่า จะสร้างหรือทำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างไร การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ เป้าประสงค์ เป็นการบอกถึงสิ่งที่จะสร้างหรือทำ ซึ่งอาจรวมไปถึง การบรรยายสั้นๆ ถึงผลผลิตที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่ต้องการใช้ เป็นการกล่าวถึงรายการสิ่งที่ต้องการใช้ในการกระทำ
            การเขียนรายงานสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศ โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริง โดยทั่วไปใช้บรรยายเกี่ยวกับประเภทหรือกลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่  การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ อาจใช้ภาพถ่าย ภาพวาด แผนที่หรือแผนผัง ประกอบด้วย หัวข้อย่อย ในการบรรยายที่ใช้กันมาก ได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับ เรื่องเกี่ยวกับบุคคล เรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ สถานที่ และสุดท้ายคือตอนสรุป เป็นการเขียนสรุปความหรือข้อคิดเห็น เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริง จึงไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก ใช้คำที่มีความหมายกว้างๆและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
            การเขียนอธิบาย (Explanation) เป็นข้อเขียนที่อธิบายว่าบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไรหรือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเกิดขึ้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องอาจประกอบด้วยนิยามหรือคำถาม คำบรรยายสั้นๆ การอธิบาย เป็นชุดของข้อความที่อธิบายตามลำดับในเรื่องบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไร ทำไมบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น และสรุป เป็นการสรุปความหรือให้ข้อคิดเห็น อาจประกอบด้วยการสรุปความหรือข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ และประวัติความเป็นมา การเขียนแต่ละประเด็นสำคัญให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ คำที่ใช้ได้แก่ ศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ คำกริยา และคำสันธาน ข้อเขียนจะเป็นปัจจุบันกาล ไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
            การเขียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกตอบสนอง (Response) เป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนบรรยายถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ใช้สำหรับการวิจารณ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ หรือการประเมิน เพื่อแสดงถึงความคิด หรือความรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ ว่าอะไรเกิดขึ้น มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ทำไมจึงมีความพิเศษในเรื่องนั้น จะโต้ตอบอย่างไร เรื่องนั้นมีผลอย่างไรต่อผู้เขียน ผู้เขียนรู้สึกอย่างไร และผู้เขียนคิดอะไรอยู่ การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่เป็นการเกริ่นนำ เป็นการระบุเรื่องว่าอะไร ใคร เมื่อไร และ   ที่ไหน รายละเอียด เป็นการบรรยายเรื่องและปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เขียนต่อเรื่องนั้น การบรรยายเรื่อง อาจประกอบด้วย ตัวบุคคลหรือตัวละครที่เกี่ยวข้อง สรุปว่าอะไรเกิดขึ้น มีลักษณะสำคัญอะไร การตอบสนอง และการสรุป
            ทั้งหมดนี้คือรูปแบบการเขียนประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปเขียนให้เหมาะสมกับแต่ละการเขียน ในการเขียนบรรยายเรื่อง การเขียนจดหมาย ข่าว โฆษณา ใบปลิว หรือแม้แต่งานเขียนการสัมภาษณ์ต่างๆ ได้


Log การถ่ายทอดตัวอักษร

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)
            การถ่ายทอดตัวอักษร หมายถึง การนำคำในภาษาหนึ่งมาเขียนด้วยตัวอักษรของอีกภาษาหนึ่งโดยพยายามให้การเขียนในภาษาใหม่นี้ถ่ายทอด เสียงของคำในภาษาเดิมให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ การถ่ายทอดตัวอักษรมีบทบาทในการแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งในกรณีต่อไปนี้
1.            เมื่อในภาษาต้นฉบับมีคำที่ใช้แทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ ชื่อแม่น้ำ ภูเขา หรือแม้แต่ชื่อสถาบันต่างๆ
2.            เมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาฉบับแปลจึงไม่มีคำเทียบเคียงให้ เช่น คำที่ใช้เรียกต้นไม้ สัตว์และกิจกรรมบางชนิด ความคิดบางประเภทซึ่งมีในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีในภาษาไทยมีเนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ขึ้น ซึ่งอาจแก้ปัญหาได้ 2 อย่างก็คือการใช้วิธีให้คำนิยามหรือคำอธิบายที่บอกลักษณะตรงกับคำเดิมนั้น หรือใช้ทับศัพท์
ซึ่งในการแปลตัวอักษรของภาษาฉบับแปล ผู้แปลควรจะยึดหลักปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำต่อไปนี้
1.            ให้อ่านคำนั้นเพื่อให้รู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร ประกอบด้วยเสียงอะไร แล้วหาตัวอักษรในภาษาฉบับแปลที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาเขียนแทนเสียงนั้นๆ
2.            ภาษาทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะและสระตรงกันเป็นส่วนมาก และผู้แปลจะหาตัวอักษรมาเขียนแทนได้เลย แต่ก็จะมีเสียงจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มีตัวอักษรที่แทนเสียงตรงกับในฉบับแปล ในกรณีนี้ให้หาตัวอักษรหนึ่งหรือ 2 ตัว เรียงกันที่มีเสียงใกล้เคียงที่สุดมาเขียนแทน
3.            เมื่อกำหนดตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่งแทนเสียงใดเสียงหนึ่งแล้วให้ใช้ตัวนั้นตลอดไป อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน
4.            สำหรับการยืมคำศัพท์มาใช้โดยเขียนลงเป็นภาษาในฉบับแปล
ซึ่งจะมีบัญชีไว้สำหรับผู้แปลระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้เป็นแนวทางในการถ่ายทอดอักษร ซึ่งบัญชีแรกจะใช้สำหรับการถ่ายทอดจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในช่องแรกจะเป็นตัวอักษรไทย ส่วนเสียงของอักษรนั้นแสดงไว้ด้วยสัญลักษณ์ทางสัทศาสตร์ ในช่องที่สองเป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ และช่องถัดไปจะเป็นตัวอย่าง


และในบัญชีที่สอง จะเป็นสำหรับการถ่ายทอดชื่อภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย การดูให้ดูแบบเดียวกับบัญชีที่ 1 กล่าวคือ ช่องที่ 1 เป็นเสียง ช่องต่อไปก็คือตัวอักษรไทยที่ใช้แทน และช่องที่ 3 คือตัวอย่าง