วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Log Text Types

Text types
                รูปแบบการเขียน หมายถึง การเรียบเรียงเนื้อหาในการเขียน ซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นแบบแผน มีคุณลักษณะและมีองค์ประกอบหลักที่ใช้การเขียนสำหรับรูปแบบนั้นๆ ซึ่งรูปแบบการเขียนมีหลายรูปแบบ แตกต่างกันไปตามจุดประสงค์ของงานเขียนนั้นเช่นกัน อาทิ เพื่อแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น เพื่อจินตนาการ     เล่าเรื่อง เพื่อความบันเทิงหรือสนุกสนาน เพื่อบรรยาย โน้มน้าวหรือชักจูง ขอร้อง สืบสอบหรือตั้งคำถาม หรือเพื่อทำความกระจ่างในความคิด แต่ละงานเขียนย่อมมีความแตกต่างแต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตาม และรู้สึกชอบและติดตามในงานเขียน
            การเขียนบรรยาย (Description) เป็นข้อเขียนที่ให้รายละเอียดของคุณลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง ข้อเขียนแบบนี้จะใช้อยู่ในข้อเขียนแบบอื่นๆด้วย ซึ่งจะกล่าวถึง อะไร  ที่ไหน เมื่อไร  ดูเป็นอย่างไร เสียงเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร ให้ความรู้สึกอย่างไร มีความเป็นพิเศษเพราะอะไร เป็นต้น  การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ ตอนรายละเอียด เป็นการบรรยายคุณลักษณะบุคคล หรือสิ่งของ และตอนสรุปใจความสำคัญ
การเขียนเล่าเรื่อง (Narrative) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึง ต่างๆที่ให้ความบันเทิง กระตุ้น หรือสอน  มุ่งที่จะให้ผู้อ่านเกิดความตั้งใจ และคงความสนใจไว้ได้นาน เรื่องมีหลายประเภท ได้แก่ ละครเหมือนชีวิตจริง เรื่องเชิงจินตนาการ เรื่องผจญภัย นิยายเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่องลึกลับ เทพนิยาย นิทาน ตำนาน เป็นต้น
            การเขียนเล่าเหตุการณ์ (Recount) เป็นข้อเขียนที่เล่าถึงเหตุการณ์หรือประสบการณ์ ที่ผ่านมา เรียงลำดับตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ กล่าวถึง อะไรที่เกิดขึ้นตามลำดับของเวลา โดยใช้คำเกี่ยวกับเวลา รวมทั้งคำคุณศัพท์ ข้อความที่เขียนเป็นเรื่องของอดีตและตอนสรุปจะเป็นการกล่าวถึงข้อคิดเห็นส่วนตัวว่า ผู้เขียนคิดอะไร รู้สึกอย่างไร กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การเขียนมีลักษณะเป็นส่วนตัวจะใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง
            การเขียนอภิปราย (Discussion) เป็นข้อเขียนที่กล่าวทั้งข้อดีและข้อเสียของหัวข้อปัญหา โดยแสดงเหตุผลที่สนับสนุนและคัดค้านในเรื่องนั้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน คือตอนที่ว่าด้วยหัวข้อปัญหา เป็นการแนะนำหัวข้อปัญหาว่า คืออะไร กล่าวถึงกลุ่มที่ต่างกัน มีความเห็นต่างกัน ตอนที่ว่าด้วยเหตุผล กล่าวถึงประเด็นและหลักฐานของกลุ่ม ที่สนับสนุนและค้าน จะประกอบด้วยกลุ่มที่สนับสนุน และกลุ่มที่ค้าน สุดท้ายตอนสรุป เป็นการสรุปความถึงเหตุผลและผู้เขียนให้ข้อเสนอแนะอะไร เพราะเหตุใด
            การเขียนอธิบาย (Expository) เป็นข้อเขียนที่อธิบายหรือบอกถึงสารสนเทศ ประกอบด้วย เรียงความเปรียบเทียบความเหมือนและความต่าง เป็นข้อเขียนที่แสดงถึงความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างสิ่งสองสิ่ง เรียงความเกี่ยวกับวิธีการ การเขียนเกี่ยวกับวิธีการเป็นข้อเขียนที่บอกให้ทราบว่า จะสร้างหรือทำ สิ่งหนึ่งสิ่งใดได้อย่างไร การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ เป้าประสงค์ เป็นการบอกถึงสิ่งที่จะสร้างหรือทำ ซึ่งอาจรวมไปถึง การบรรยายสั้นๆ ถึงผลผลิตที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่ต้องการใช้ เป็นการกล่าวถึงรายการสิ่งที่ต้องการใช้ในการกระทำ
            การเขียนรายงานสารสนเทศ (Information report) เป็นข้อเขียนที่ให้สารสนเทศ โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริง โดยทั่วไปใช้บรรยายเกี่ยวกับประเภทหรือกลุ่มของคน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่  การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ อาจใช้ภาพถ่าย ภาพวาด แผนที่หรือแผนผัง ประกอบด้วย หัวข้อย่อย ในการบรรยายที่ใช้กันมาก ได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับ เรื่องเกี่ยวกับบุคคล เรื่องเกี่ยวกับสิ่งของ สถานที่ และสุดท้ายคือตอนสรุป เป็นการเขียนสรุปความหรือข้อคิดเห็น เนื่องจากเป็นข้อเท็จจริง จึงไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึก ใช้คำที่มีความหมายกว้างๆและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
            การเขียนอธิบาย (Explanation) เป็นข้อเขียนที่อธิบายว่าบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไรหรือบางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเกิดขึ้น การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนนำ เป็นข้อความทั่วไปเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องอาจประกอบด้วยนิยามหรือคำถาม คำบรรยายสั้นๆ การอธิบาย เป็นชุดของข้อความที่อธิบายตามลำดับในเรื่องบางสิ่งบางอย่างทำงานอย่างไร ทำไมบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น และสรุป เป็นการสรุปความหรือให้ข้อคิดเห็น อาจประกอบด้วยการสรุปความหรือข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นทั่วไปเกี่ยวกับการใช้ และประวัติความเป็นมา การเขียนแต่ละประเด็นสำคัญให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ คำที่ใช้ได้แก่ ศัพท์เทคนิคหรือศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ คำกริยา และคำสันธาน ข้อเขียนจะเป็นปัจจุบันกาล ไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกและใช้สรรพนามบุรุษที่สาม
            การเขียนแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกตอบสนอง (Response) เป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนบรรยายถึงปฏิกิริยาตอบสนองต่อเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ใช้สำหรับการวิจารณ์ การให้ข้อมูลย้อนกลับ หรือการประเมิน เพื่อแสดงถึงความคิด หรือความรู้สึกต่อสิ่งนั้นๆ ว่าอะไรเกิดขึ้น มีใครเกี่ยวข้องบ้าง ทำไมจึงมีความพิเศษในเรื่องนั้น จะโต้ตอบอย่างไร เรื่องนั้นมีผลอย่างไรต่อผู้เขียน ผู้เขียนรู้สึกอย่างไร และผู้เขียนคิดอะไรอยู่ การเขียนแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่เป็นการเกริ่นนำ เป็นการระบุเรื่องว่าอะไร ใคร เมื่อไร และ   ที่ไหน รายละเอียด เป็นการบรรยายเรื่องและปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เขียนต่อเรื่องนั้น การบรรยายเรื่อง อาจประกอบด้วย ตัวบุคคลหรือตัวละครที่เกี่ยวข้อง สรุปว่าอะไรเกิดขึ้น มีลักษณะสำคัญอะไร การตอบสนอง และการสรุป
            ทั้งหมดนี้คือรูปแบบการเขียนประเภทต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปเขียนให้เหมาะสมกับแต่ละการเขียน ในการเขียนบรรยายเรื่อง การเขียนจดหมาย ข่าว โฆษณา ใบปลิว หรือแม้แต่งานเขียนการสัมภาษณ์ต่างๆ ได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น