วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง

หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
            หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันนี้ เป็นการถอดโดยวิธีการถ่ายเสียง (Transcription) เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียง โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ โดยจะใช้
1.            ตารางเทียบเสียงพยัญชนะและสระ
2.            ความหมายของคำ
2.1    หน่วยคำ คือหน่วยที่เล็กที่สุดและมีความหมาย
2.2    คำ คือ หน่วยคำ 1 หน่วยคำหรือมากกว่านั้น
2.3    คำประสม คือ หน่วยคำตั้งแต่ 2 หน่วยคำขึ้นไป เมื่อรวมกันแล้วมีความหมายใหม่หรือความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม
2.4    คำสามานยนาม จะมีคำนามทั่วไป และ ชื่อภูมิศาสตร์
2.5    คำวิสามานยนาม หมายถึงคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ
2.6    คำนำหน้านาม หมายถึง คำที่อยู่หน้าวิสามานยนาม
2.7    คำทับศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย อาจเป็นคำสามานยนาม หรือคำวิสามานยนามก็ได้
3.            การใช้เครื่องหมาย ในกรณีซึ่งมีคำหลายพยางค์ อักษรตัวสุดท้ายของพยางค์หน้ากับอักษรตัวแรกของพยางค์ที่ตามมา อาจทำให้อ่านยากหรืออ่านผิดได้ ให้ใช้เครื่องหมาย เพื่อแยกพยางค์
4.            การแยกคำ ในการถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันให้เขียนแยกเป็นคำๆ ยกเว้นคำประสมซึ่งถือว่าเป็นคำเดียวกัน และวิสามานยนามที่เป็นชื่อบุคคลให้เขียนติดกัน
5.            การใช้อักษรโรมันตัวใหญ่
6.            การถอดชื่อภูมิศาสตร์ ให้ถอดคำสามานยนามที่เป็นชื่อภูมิศาสตร์เป็นอักษรโรมันโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ
7.            การถอดคำทับศัพท์ ถ้าเป็นคำวิสามานยนาม ให้เขียนตามภาษาเดิม ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของวิสามานยนามและไม่ประสงค์จะแปลชื่อวิสามานยนามนั้น ให้เขียนทับศัพท์เป็นอักษรโรมันตามการออกเสียงในภาษาไทย
8.            การถอดเครื่องหมายต่างๆ
9.            การถอดคำย่อ ให้อ่านเต็มตามหลักการ และให้ถอดเป็นอักษรโรมันเต็มตามคำอ่าน

ซึ่งทั้งหมดนี้นั้นคือหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น