วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Log การถ่ายทอดตัวอักษร

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)
            การถ่ายทอดตัวอักษร หมายถึง การนำคำในภาษาหนึ่งมาเขียนด้วยตัวอักษรของอีกภาษาหนึ่งโดยพยายามให้การเขียนในภาษาใหม่นี้ถ่ายทอด เสียงของคำในภาษาเดิมให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะทำได้ การถ่ายทอดตัวอักษรมีบทบาทในการแปลจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งในกรณีต่อไปนี้
1.            เมื่อในภาษาต้นฉบับมีคำที่ใช้แทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ ชื่อแม่น้ำ ภูเขา หรือแม้แต่ชื่อสถาบันต่างๆ
2.            เมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาฉบับแปลจึงไม่มีคำเทียบเคียงให้ เช่น คำที่ใช้เรียกต้นไม้ สัตว์และกิจกรรมบางชนิด ความคิดบางประเภทซึ่งมีในภาษาอังกฤษแต่ไม่มีในภาษาไทยมีเนื่องจากยังไม่มีการบัญญัติศัพท์ขึ้น ซึ่งอาจแก้ปัญหาได้ 2 อย่างก็คือการใช้วิธีให้คำนิยามหรือคำอธิบายที่บอกลักษณะตรงกับคำเดิมนั้น หรือใช้ทับศัพท์
ซึ่งในการแปลตัวอักษรของภาษาฉบับแปล ผู้แปลควรจะยึดหลักปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำต่อไปนี้
1.            ให้อ่านคำนั้นเพื่อให้รู้ว่าคำนั้นออกเสียงอย่างไร ประกอบด้วยเสียงอะไร แล้วหาตัวอักษรในภาษาฉบับแปลที่มีเสียงใกล้เคียงกันมาเขียนแทนเสียงนั้นๆ
2.            ภาษาทุกภาษาจะมีเสียงพยัญชนะและสระตรงกันเป็นส่วนมาก และผู้แปลจะหาตัวอักษรมาเขียนแทนได้เลย แต่ก็จะมีเสียงจำนวนหนึ่งซึ่งไม่มีตัวอักษรที่แทนเสียงตรงกับในฉบับแปล ในกรณีนี้ให้หาตัวอักษรหนึ่งหรือ 2 ตัว เรียงกันที่มีเสียงใกล้เคียงที่สุดมาเขียนแทน
3.            เมื่อกำหนดตัวอักษรตัวใดตัวหนึ่งแทนเสียงใดเสียงหนึ่งแล้วให้ใช้ตัวนั้นตลอดไป อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่แน่นอน
4.            สำหรับการยืมคำศัพท์มาใช้โดยเขียนลงเป็นภาษาในฉบับแปล
ซึ่งจะมีบัญชีไว้สำหรับผู้แปลระหว่างภาษาไทยและภาษาอังกฤษใช้เป็นแนวทางในการถ่ายทอดอักษร ซึ่งบัญชีแรกจะใช้สำหรับการถ่ายทอดจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ ในช่องแรกจะเป็นตัวอักษรไทย ส่วนเสียงของอักษรนั้นแสดงไว้ด้วยสัญลักษณ์ทางสัทศาสตร์ ในช่องที่สองเป็นตัวอักษรในภาษาอังกฤษ และช่องถัดไปจะเป็นตัวอย่าง


และในบัญชีที่สอง จะเป็นสำหรับการถ่ายทอดชื่อภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย การดูให้ดูแบบเดียวกับบัญชีที่ 1 กล่าวคือ ช่องที่ 1 เป็นเสียง ช่องต่อไปก็คือตัวอักษรไทยที่ใช้แทน และช่องที่ 3 คือตัวอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น