วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Log หลักการแปลวรรณกรรม

หลักการแปลวรรณกรรม
            วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ไม่ว่าจะใช้วิธีร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานของกวีโบราณหรือปัจจุบัน ซึ่งจะรวมเรียกว่า วรรณคดีด้วย ซึ่งงานทางด้านบันเทิงคดีนั้นผู้อ่านจะมุ่งหวังที่จะได้รับความบันเทิงเพลิดเพลินเป็นส่วนใหญ่ ส่วนการค้นหาความรู้ ข้อมูลต่างๆ จะเป็นจุดประสงค์รองลงมา ซึ่งจะต้องรักษาความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้อง
            ซึ่งหลักการแปลนวนิยายนั้น ผู้แปลสามารถค้นหาถ้อยคำสำนวนสละสลวยไพเราะเพื่อให้สอดคล้องกับต้นฉบับได้เป็นอย่างดี
1.            การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม จะมีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพื่อบอกคุณลักษณะของงานเพื่อเร้าใจผู้อ่านผู้ชมให้สนใจ และเพื่อบอกผู้อ่านเป็นนัยๆ ว่าผู้เขียนต้องการสื่ออะไรต่อผู้อ่าน ซึ่งจะมี 4 แบบ คือ
 แบบที่ 1 ไม่แปล แต่ใช้ชื่อเดิมเขียนเป็นภาษาไทยโดยวิธีการถ่ายทอดเสียง
แบบที่ 2 แปลตรงตัว โดยรักษาคำและความหมายไว้ด้วยภาษาไทยที่ดีและกะทัดรัด
แบบที่ 3 แปลบางส่วนดัดแปลงบางส่วน จะใช้ต่อเมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไปไม่ดึงดูด และไม่สื่อความหมายเพียงพอ
แบบที่ 4 ตั้งชื่อใหม่โดยการตีความชื่อเรื่องและเนื้อเรื่อง ต้องใช้ความเข้าใจวิเคราะห์ได้
2.            การแปลบทสนทนา เป็นปัญหายุ่งยากของการแปลคือ บทสนทนา หรือถ้อยคำตอบโต้กันของตัวละคร ซึ่งจะใช้ภาษาพูดหลายระดับ ซึ่งจะเต็มไปด้วยคำแสลง  คำสบถ หรือคำอื่นๆที่ใช้กันตามความจริง
3.            การแปลบทบรรยาย จะเป็นข้อความที่เขียนเล่าเรื่องเหตุการณ์ ซึ่งจะใช้ภาษาเขียนหลายระดับ ซึ่งจะพบความยุ่งยากเกิดจากภาษาสองประเภท คือภาษาในสังคม กับภาษาวรรณคดี
ขั้นตอนในการแปลวรรณกรรม ควรปฏิบัติดังนี้
1.            อ่านเรื่องราวให้เข้าใจตลอด สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่จะแปลได้ ย่อความได้ จับประเด็นของเรื่องได้ ทำแผนผังความสัมพันธ์ของตัวละครสำคัญในเรื่อง
2.            วิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน ค้นหาความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จัก ค้นหาความกระจ่างของข้อความที่ไม่เข้าใจ
3.            ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่าย

            

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น