วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log

            Learning Log ในห้องเรียน 1
            สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนนั้นจะเกี่ยวกับการที่นักเรียนจะเรียนรู้อย่างไรให้เกิดการเข้าใจและเกิดประสิทธิภาพต่อนักเรียน และครูผู้สอนควรมีวิธีการอย่างไรเพื่อที่จะให้นักเรียนเข้าใจการสอนของครูมากที่สุด และยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแปลตาม Tense ว่าควรจะแปลยังไง ใช้คำอย่างไร ให้สั้น กะทัดรัด โดยที่ความหมายยังคงเดิม
            การเรียนรู้อย่างเข้าใจนั้น คือ Comprehensible (Input) = I + 1 ซึ่ง I = Background Knowledge ของนักเรียน คือ ความรู้พื้นฐานของนักเรียนนั่นเอง 1 = Teacher (+1 ก็คือเมื่อครูรู้ความรู้เดิมของนักเรียนแล้ว ก็ปรับการสอนให้ยากกว่าความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ของเด็ก 1 ระดับ)สำหรับสูตรนี้ความคิดของดิฉันก็คือก่อนที่ครูจะทำการสอน ครูจะต้องสำรวจและประเมินตัวเด็กนักเรียนก่อนว่ามีความรู้พื้นฐานอยู่ในระดับไหน แล้วจึงปรับการสอนให้ยากกว่าที่นักเรียนรู้มาแล้ว เพิ่มขึ้น 1 ระดับ เพื่อที่จะให้นักเรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและการสอนที่ไม่ยากเกินความสามารถของนักเรียน
            การแปลตาม Tense อันดับแรกเมื่อเห็นประโยคต่างๆ เราจะต้องดู Tense ก่อนว่าเป็น Tense อะไร เป็นอดีต ปัจจุบัน หรืออดีต จบไปแล้วหรือยังทำต่อ ซึ่งเราก็ดูได้จากกริยานั้นๆ เมื่อเรารู้ว่าเราต้องแปลตาม Tense อย่างไร เราก็จะต้องแปลให้ประโยคนั้นสั้น กะทัดรัด ได้ใจความและสมบูรณ์ เช่น
            He lived in Nakhon Si Thammarat for a year.
            He had lived in Nakhon Si Thammarat for a year.     
จากประโยคทั้งสองประโยคนี้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของ Tense ซึ่งก็จะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป ซึ่งในประโยคแรกจะเป็น Past Simple Tense คือเหตุการณ์ที่จบและสิ้นสุดลงไปแล้วในอดีต ส่วนประโยคที่ 2 จะเป็น Present Perfect Tense คือเหตุการณ์ที่ทำไปแล้วก่อนหน้านี้นั่นเอง
            อย่างไรก็ตามดิฉันก็ได้มีการศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียน คือ การฟังเพลงจากเว็บไซต์ยูทูป เริ่มฟังจากเพลงที่มีซับภาษาอังกฤษก่อนแล้วจึงลองมาฟังแบบไม่มีเนื้อร้องมาให้ เพื่อฝึกทักษะในการฟัง และกลับไปทบทวนเรื่อง Tense ให้จำมากยิ่งขึ้น
            ทั้งหมดนี้จึงสรุปได้ว่า การที่จะสอนให้นักเรียนเข้าใจนั้น ครูผู้สอนจะต้องรู้พื้นฐานความรู้เดิมของเด็กนักเรียนก่อน จึงค่อยปรับเนื้อหาการสอนให้สอดคล้องกับเด็ก คือ จะต้องปรับระดับให้ยากกว่าความรู้เดิมเพิ่มขึ้น  1 ระดับ เพื่อให้เด็กเข้าใจง่าย ไม่ยากและซับซ้อนเกินไป ส่วนในเรื่องของการแปลนั้น เราจะต้องดู Tense ก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อเราเข้าใจ Tense แล้วเราก็จะสามารถแปลประโยคนั้นๆออกมาได้อย่างถูกต้อง และต้องสั้น กะทัดรัด ได้ใจความ












                                                Learning Log ในห้องเรียน3
            ในการแปลนั้น ผู้แปลจะต้องแปลให้ถูกต้อง สั้น กะทัดรัด แต่ได้ใจความครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งก่อนอื่นนั้น เมื่อเรามีบทความหรือประโยคที่เราจะแปล เราจะต้องเริ่มดูจาก Tense ก่อนเป็นหลัก เนื่องจากผู้แปลจะได้รู้ว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เกิดในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตและทำต่อเนื่องกันหรือไม่ เพราะในภาษาอังกฤษนั้นจะต้องคำนึงถึง Tense หรือกาลเป็นหลัก ซึ่งไม่เหมือนกันกับในภาษาไทยของเรา เพราะในภาษาไทยนั้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเวลาที่ชัดเจน คำกริยาที่ใช้ก็ยังคงเป็นคำเดิมทุกเวลา แต่เมื่อเป็นภาษาอังกฤษนั้น ถ้าเวลาเปลี่ยน กริยาก็จะเปลี่ยนรูปไปต่าง Tense ต่างๆ
            สำหรับสิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนก็คือเรื่อง Tense ว่าควรใช้อย่างไร ใช้เมื่อใด Tense นั้นมีอยู่ทั้งหมด 12 Tense ซึ่งจะแบ่งออกเป็น Past, Present และ Future ซึ่งในแต่ละส่วนก็จะแยกย่อยออกไปอีก คือ Past ก็จะมี Past Simple จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและจบลงไปแล้วในอดีต, Past Continuous จะเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในอดีต, Past Perfect จะเป็นเหตุการณ์ที่มีผลสมบูรณ์ในอดีตและจบลงแล้วในอดีต, Past Perfect Continuous จะเป็นเหตุการณ์ในอดีตซึ่งกระทำต่อเนื่องตลอดไม่มีเหตุการณ์อื่นแทรก ต่อมา Present ก็จะมี Present Simple จะเป็นเหตุการณ์ที่เป็นจริง เป็นปัจจุบันหรือกระทำจนเป็นนิสัย, Present Continuous จะเป็นเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะที่พูดหรือทำ, Present Perfect จะเป็นเหตุการณ์ที่ทำแล้วในอดีตแต่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน, Present Perfect Continuous จะเป็นเหตุการณ์ที่ทำต่อเนื่องมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยไม่มีเหตุการณ์ใดมาแทรกเลย และสุดท้าย Future ก็จะมี Future Simpleจะเป็นเหตุการณ์ที่คาดไว้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต, Future Continuous จะเป็นเหตุการณ์ที่กำลังจะวางแผนในอนาคต, Future Perfect จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่นอน เสร็จสมบูรณ์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต, Future Perfect Continuous จะเป็นเหตุการณ์ที่กำลังจะทำอย่างต่อเนื่องในอนาคต
            สำหรับการเรียนรู้นอกห้องเรียนของดิฉันก็คือการไปค้นหาทริคในการจำ Tense ทั้ง 12 นี้ให้ได้และเข้าใจง่ายที่สุด
Step 1 ก็คือเราสามารถแบ่งช่วงเวลาในการเกิดได้ 3 ช่วง คือ
Past
Present
Future
จากนั้นก็แบ่งตามประเภทได้อีก 4 แบบ

Past
Present
Future
Simple



Continuous



Perfect



Perfect Continuous



Step 2 คือเริ่มจาก Present ก่อน มีรูปแบบดังนี้

Past
Present
Future
Simple

S+V.1

Continuous

S+is,am,are+V.ing

Perfect

S+has/have+V.3

Perfect Continuous

S+has/have+been+V.ing

Step3 คือผัน Tense ไปสู่รูปอดีต คือผันกริยาที่ติดกับประธานที่สุด ในอยู่ในรูปกริยาช่อง 2

Past
Present
Future
Simple
S+V.2
S+V.1

Continuous
S+was,were+V.ing
S+is,am,are+V.ing

Perfect
S+had+V.3
S+has/have+V.3

Perfect Continuous
S+had+been+V.ing
S+has/have+been+V.ing

Step 4 นั้นให้เติม will ตามหลังประธานทั้งหมดใน Future

Past
Present
Future
Simple
S+V.2
S+V.1
S+will+V.1
Continuous
S+was,were+V.ing
S+is,am,are+V.ing
S+will+is,am,are+V.ing
Perfect
S+had+V.3
S+has/have+V.3
S+will+has/have+V.3
Perfect Continuous
S+had+been+V.ing
S+has/have+been+V.ing
S+will+has/have+been+V.ing
            ดังนั้นในการแปลภาษาอังกฤษ ปัจจัยหลักที่สำคัญที่เราต้องรู้และทำความเข้าใจให้ละเอียดให้ชัดเจนก่อนนั้นก็คือ Tense เพื่อที่จะทำให้เรานั้นสามารถแปลประโยคต่างๆได้อย่างเข้าใจและถูกต้อง เพราะในภาษาอังกฤษ Tense ถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะคำกริยาในแต่ละประโยคที่เราจะแปลนั้นจะเปลี่ยนไปตาม Tense ต่างๆ ทั้ง 12 Tense ซึ่งตรงกันข้ามกับภาษาไทยที่ใช้คำกริยาเดิมๆในทุกๆช่วงเวลา เพราะฉะนั้นผู้แปลจึงควรจำวิธีการและโครงสร้างของการใช้ Tense ทั้ง 12 นี้ให้แม่นยำ เพื่อที่จะทำให้การแปลนั้นถูกต้องและก็มีใจความที่ครบถ้วนสมบูรณ์












                                    Learning Log ในห้องเรียน 4
            ในการแปลประโยคต่างๆให้ถูกต้อง ได้ใจความนั้น เราจะต้องรู้คำศัพท์ต่างๆและ Tense ของประโยคนั้นๆที่เราต้องการจะแปล นอกเหนือจาก 2 อย่างที่กล่าวไปแล้วนั้น อีกอย่างหนึ่งที่เราจะต้องรู้นั้นก็คือในส่วนของโครงสร้างประโยคว่าเป็นแค่ Phrase (วลี) หรือเป็น Clause (อนุประโยค) เพื่อที่จะทำให้เราสามารถแปลประโยคต่างๆให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
            สำหรับอนุประโยคหรือ Clause นั้นคือกลุ่มคำ (a group of word) ที่มีกริยาแท้ (Finite Verbs) แต่จะไม่มีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง จะเกิดขึ้นตามลำพังไม่ได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ก็คือ Noun Clause, Adjective Clause และ Adverb Clause ซึ่งทั้ง 3 Clause นี้ก็จะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป
            การเรียนรู้ในห้องเรียนวันนี้ก็คือเรื่องของ Adjective Clause คือประโยคที่ทำหน้าที่ขยายคำนามหรือคำสรรพนาม ลักษณะของ Adjective Clause จะนำหน้าด้วยคำเชื่อม หรือ Connectives ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ก็คือ
1.            Relative Pronoun   :   Who, Whom, That, Which, Whose
2.            Relative Adverb    :   When, Where, Why
และก็จะมี Adjective Clause แบบที่มี comma (non-defining clause) คือ clause ที่ขยาย
-                    noun ที่มีเพียงหนึ่ง เช่น Here is my father, who will help you.
-                   Noun ที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น Hua Hin, which I live in, is very peaceful.
-                   Noun ที่ใช้ในความหมายทั่วไป เช่น Air, which is essential to us, costs nothing.
-                   Noun ที่แสดงจำนวนทั้งหมดที่มี เช่น I have a brother, who is a doctor.
 และ Adjective clause  แบบที่ไม่มี comma (defining clause) คือ clause ที่ไปขยาย noun เพื่อทำให้ noun นั้นชี้เฉพาะ (noun นั้นจึงจะต้องมี the ขยายอยู่เกือบเสมอ) เช่น
-                   I like the man who is speaking.           - The town which I will visit is Hua Hin.
จะสังเกตได้ว่าถ้า Adjective clause ที่มี comma ออกจากประโยค ประโยคนั้นจะอ่าน
แล้วรู้เรื่อง เช่น Here my father หรือ Hua Hin is very peaceful แต่ถ้า Adjective clause ที่ไม่มี comma จะเอาออกจากประโยคไม่ได้ เพราะประโยคนั้นจะไม่สมบูรณ์ หรือผิดใจความ เช่น I like the man (ไม่รู้ว่าmanไหน) และ The town is Hua Hin (ไม่ได้ใจความ)
            ส่วนในเรื่องของการใช้ relative words ซึ่งจะต้องนำหน้า Adjective clause เสมอทุกประโยค ซึ่งจะมี who, whom, that, which, whose, when, where และ why
            การใช้ who และ which ซึ่ง who ใช้แทนคนที่ทำหน้าที่ประธานในประโยค ขยายโดยไม่ต้องคำนึงถึงเพศ เช่น That is the man who came to our house yesterday. และ which ใช้กับสิ่งของ สามารถใช้แทนได้ทั้งประธานและกรรมในประโยคขยาย เช่น The book, which I bought for twenty dollars, is worth ten dollars more.
            การใช้ whom ส่วนมากจะใช้ในภาษาวรรณกรรมและภาษาทางการเท่านั้น โดยใช้แทนคำนามที่เป็นคน ซึ่งเป็นกรรมของกริยาหรือบุพบทในประโยคขยาย ในภาษาพูดเท่านั้น whom อาจจะถูกละหรือใช้ that แทน เช่น That is the man whom we met yesterday. ซึ่งการเลือกใช้ who หรือ whom นั้นขึ้นอยู่กับหน้าที่ของมันในประโยค
            การใช้ whose ก็คือคล้ายกับการใช้ his หรือ her ก็คือการแสดงความเป็นเจ้าของนั่นเอง โดยสามารถใช้ได้กับทั้งคนและสิ่งของ เช่น That is the man whose house we saw just now.
            การใช้ where ใช้บอกสถานที่ในความหมายเดียวกับ at which และ in which เช่น That is the school where (at which) I used to teach. และ We went on to Rome, where (in which) we stopped a week.
            การใช้ when และ why ซึ่ง when ใช้เมื่อระบุถึงเวลา เช่น On Monday, when I saw you, I was in a hurry. และ why ใช้แสดงเหตุผล เช่น The reason why he did it will always remain a mystery.
            การใช้ that ถือเป็นคำ relative word ที่ใช้ได้กับสิ่งของทั่วไป ใช้ได้กับทั้งคำเอกพจน์และพหูพจน์ เช่น That’s the book that I bought yesterday. และ Those are the stamps that I have collected. และ that สามารถใช้แทน who, when, และ where ได้อีกด้วย เช่น That’s the man who (or that) came to our house yesterday. และ By the time that you are dressed, breakfast will be ready. และ They are taken up mountains, anywhere that a mule can find a road.
            และที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็คือการใช้และหน้าที่ของ Adjective clause ซึ่งเรามักจะเจอประโยคที่เป็น Adjective clause นี้บ่อยๆ ทั้งในหนังสือพิมพ์หรือหนังสือทั่วไป หรือบทความต่างๆ ซึ่งเมื่อเราเข้าใจในความหมายและหน้าที่ของ Adjective clause แล้ว เราก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นและสามารถแปลออกมาได้อย่างถูกต้องว่า Adjective clause นี้มันขยายอะไร และตรงไหนของประโยค ซึ่ง Adjective clause นี้ก็จะทำหน้าที่ขยายคำนามหรือสรรพนาม โดยจะมี relative words นำหน้าอยู่เสมอนั่นเอง










                                                Learning Log ในห้องเรียน 6
            สิ่งที่ได้เรียนรู้ในสัปดาห์นี้คือเรียนเกี่ยวกับเรื่อง Adjective clause และ Adjective phrase ว่ารูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร คืออย่างไร ซึ่ง Adjective clause นั้นจะต้องมี Relative pronouns เป็นตัวเชื่อมประโยค คำไหนต้องใช้กับคน สัตว์หรือสิ่งของ หรือความเป็นเจ้าของต้องใช้ relative pronoun ตัวไหน และได้สอนเกี่ยวกับการลดรูปจาก Adjective clause ให้กลายมาเป็น Adjective phrase ว่าควรลดรูปอย่างไร มีทั้งแบบ active ซึ่งคือประธานของประโยคเป็นผู้กระทำ และเป็นแบบ passive คือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ
            สำหรับเรื่อง Adjective clause ประโยคจะต้องมี Relative Pronouns เป็นคำเชื่อมอยู่เสมอ การใช้ Relative Pronouns คือ who และ whom จะใช้แทนนามที่เป็นบุคคล whoจะใช้ต่อเมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำ แต่whomจะใช้เมื่อเป็นกรรมหรือเป็นผู้ถูกกระทำในประโยคนั้นๆ, whose จะใช้แทนนามที่เป็นบุคคล เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของของคำนามที่อยู่ข้างหลัง, which จะใช้แทนนามที่เป็นสัตว์ สิ่งของ ทั้งในรูปที่เป็นประธานและเป็นกรรม , whenใช้แทนนามที่เกี่ยวกับเวลา/วัน/เดือน/ปี , whyใช้แทนนามที่เป็นเหตุผล, where ใช้แทนนามที่เกี่ยวกับสถานที่, that ใช้แทนได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของและสถานที่ ทั้งหมดนี้ก็คือการใช้ Relative Pronouns ใน Adjective clause
            สำหรับเรื่องของการลดรูป ก็คือการลดรูปจาก Adjective clause ในมาอยู่ในรูปของ Adjective phrase คือ คำนำหน้าหรือ Relative Pronouns ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค สามารถลดรูปได้ คือ
            การลดรูปจาก Adjective clause ให้อยู่ในรูปของ Adjective phrase ที่เป็น active voice ก็คือ
1.            ตัด Relative Pronouns ในประโยคออก
2.            เปลี่ยน Verb ให้เป็น Verb ช่องที่ 1 และเติม ing ก็จะกลายเป็น Adjective phrase ที่เป็น active voice
การลดรูปจาก Adjective clause ให้อยู่ในรูปของ Adjective phrase ที่เป็น passive
Voice ก็คือ
1.            ตัด Relative Pronouns ในประโยคออก
2.            ตัด Verb to be ออก เหลือไว้แต่ Verb ช่องที่ 3 ก็จะกลายเป็น Adjective phrase ที่เป็น
Passive voice
            ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ก็คือเรื่องของการใช้ Relative Pronouns ใน Adjective clause ว่าควรใช้อย่างไร เนื่องจากการเขียน Adjective clause นั้นจะต้องมี Relative Pronouns อยู่เสมอเพื่อให้ประโยคนั้นมีความหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นเวลาอ่าน Adjective clause ทั้งหลาย และได้รู้ว่าวิธีการลดรูปจากประโยค Adjective clause ให้มาเป็น Adjective phrase นั้นทำอย่างไร โดยมีหลักการที่ง่ายๆ ทำให้สามารถเข้าใจในการลดรูปของ Adjective clause ให้เป็น Adjective phrase ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งในรูปของประโยค active voice และประโยค passive voice








                                    Learning Log ในห้องเรียน 7
            การเรียนรู้ในห้องเรียนสัปดาห์นี้ก็คือเรียนเกี่ยวกับเรื่องของ If-Clause ซึ่งเป็นประโยคแสดงถึงเงื่อนไขต่างๆนั้นเอง ซึ่งจะพบเจอได้ทั้งในหนังสือหรืองานเขียนต่างๆ If-Clause จะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 3 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 เป็นเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ ประเภทที่ 2 คือเป็นการสมมติในปัจจุบัน แสดงเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ประเภทที่ 3 คือเป็นการสมมติในอดีต แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลย และตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต ซึ่งเรามาทำความรู้จักกับ If-Clause ทั้ง 3 กันเลย
            If-Clause ประเภทที่ 1 (present real) เป็นการสมมติถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคต แสดงเงื่อนไขที่น่าจะเป็นไปได้ ใช้กับเหตุการณ์ที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน
            If + Present Simple, Will + V.1
เช่น      If I have enough money, I will go to Japan.
            If you eat too much, you will get fat.
            If-Clause ประเภทที่ 2 เป็นการสมมติในปัจจุบันที่บอกความสงสัย แสดงเงื่อนไขที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ คือ ใช้กับเหตุการณ์ที่ตรงกันข้ามกับความจริงในปัจจุบันหรืออนาคต (present unreal)
            If + Past Simple, Would + V.1
เช่น      If I knew her name, I would tell you. (จากประโยคนี้จริงๆแล้วไม่รู้จักชื่อเธอ)
            If I were you, I would call her. (จากประโยคนี้จริงๆแล้วฉันไม่ได้เป็นคุณ)
            If-Clause ประเภทที่ 3 (past unreal) เป็นการสมมติในอดีต แสดงเงื่อนไขที่ไม่อาจเป็นไปได้เลย และตรงกันข้ามกับความเป็นจริงในอดีต
            If + Past Perfect, Would have + V.3
เช่น      If you had worked hard, you would have passed your exam (จริงๆแล้วสอบตกไปแล้ว)
            If I met you before, we would have been together. (จริงๆแล้วฉันพบคุณช้าไป)
            ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือ If-Clause ประเภทต่างๆ ทั้ง 3 ประเภท คือ Present Real, Present Unreal และ Past Unreal พร้อมกับโครงสร้างของแต่ละประเภทและตัวอย่าง ทำให้เราสามารถเข้าใจ If-Clause ได้อย่างง่ายดายมากขึ้น เมื่อเราไปเจอประโยค If-Clause ต่างๆทั้งในบทความหรือหนังสือต่างๆ เราก็จะแปลและเข้าใจความหมายที่แท้จริงของมันได้อย่างถูกต้องว่าเป็น If-Clause ประเภทไหน ควรแปลว่าอย่างไร จะทำให้เรามีประสิทธิภาพในการแปลมากยิ่งขึ้น












                                    Learning Log ในห้องเรียน 8
            การเรียนรู้ในห้องเรียนในสัปดาห์นี้นั้น อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับเรื่องของ Noun Clause ซึ่งดิฉันได้ไปศึกษามาบ้างแล้วในการศึกษานอกห้องเรียนของสัปดาห์ที่แล้วนั้นเอง จึงทำให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่ง Noun Clause ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราต้องเรียนรู้หน้าที่ การใช้ประโยคเหล่านี้ในวิชาการแปล เพื่อที่เราจะได้ไปแปลเหมือนกับประโยค Adjective Clause ซึ่งทำให้เราแยกแยะออกว่าอันไหนคือประโยคของอะไร ซึ่งดูได้จากหน้าที่ของแต่ละประโยคเหล่านั้น เมื่อเราเข้าใจแล้วเราก็จะสามารถถอดความและแปลประโยคต่างๆ เหล่านั้นออกมาได้อย่างถูกต้อง สละสลวยและสมบูรณ์ที่สุด
            ซึ่ง Noun Clause นั้นก็คืออนุประโยคที่มีลักษณะเป็นคำนามหรือนั้นเสมือนคำนามธรรมดาๆนั้นเองแต่จะไม่ใช่เป็นคำ จะมีลักษณะเป็นอนุประโยค จะเป็นประธานของกริยา และกรรมของกริยาในประโยคนั้นๆ
            Noun Clause นั้นจะมีอยู่ 2 แบบคือ
1.            Wh-question + S + V. (Wh-question ก็คือ what, where, when, why, how)
เช่น When I am marry to is uncertain.
            I don’t understand why I fell translation subject.
            It is clear how I travel to Bangkok.
ซึ่งคำว่า what จะหมายความว่า สิ่งซึ่ง และคำว่า that จะหมายความว่า ที่ว่า
2.            Yes, no question + S + V. ซึ่งจะใช้ if, whether ในประโยคเสมอ ซึ่งจะแปลว่าหรือเปล่า
หรือไม่
เช่น      Is she student ? จะกลายเป็น I wonder if she is a student.
และ     Did he pass an exam? ก็จะกลายเป็น I  don’t know if he passed an exam.
            ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คือประเภทและวิธีการทำจากประธานให้เป็นกรรมของประโยค ซึ่งมีทั้งการใช้ that, what, where, when, why, how และ การใช้ yes, no question คือมีทั้งการใช้ Verb to be และ Verb to do ซึ่ง Noun Clause ก็เปรียบเสมือนเป็นคำนามทั่วไป คือหน้าที่เหมือนกันก็คือ เป็นประธานของประโยคและเป็นกรรมของประโยค แต่แค่มีลักษณะเป็นอนุประโยคไม่ใช่เป็นคำแค่นั้นเอง จึงทำให้เราสามารถเข้าใจได้ง่ายและแปลความได้อย่างถูกต้อง













                                    Learning Log ในห้องเรียน
            สำหรับการเรียนรู้ในห้องเรียนในสัปดาห์นี้นั้น จะเรียนเกี่ยวกับเรื่องของการลดรูปของ Adverb of Time (Reduction of Time Clauses) ซึ่งประโยค Adverb of Time มักจะมีคำเหล่านี้ปรากฎอยู่ คือ after, before, once, until, when, while, as soon as และ since ซึ่งการลดรูปของประโยค Adverb of Time ทำได้ไม่ยาก ซึ่งจะมีทั้งแบบ active และแบบ passive ซึ่งสามารถลดรูปได้ ดังนี้
            พวกประโยคเหล่านี้จะสามารถลดรูปได้ก็ต่อเมื่อประธานในประโยค Adverb of Time กับประธานในประโยค main clause เป็นคนๆเดียวกัน หรือเป็นสิ่งของสิ่งเดียวกัน เช่น
1.            The seed is sown before it is watered. (ประโยค active)
ซึ่ง it ในประโยคก็หมายถึง seed ประโยคนี้ก็เลยสามารถลดรูปได้ โดยการตัด it ออกเพราะเป็นประธานตัวเดียวกัน และก็เปลี่ยน is เป็น being ก็จะได้ประโยค The seed is sawn before being watered.
2.            While he was crossing the street, he met his old friend. (ประโยค passive) ซึ่งในประโยคนี้ he ประโยคแรกกับประโยคหลังคือคนเดียวกันเราก็ตัด he ออกจากประโยคได้เลย จะกลายเป็น While crossing the street, he met his old friend.
ถ้าประโยคลดรูปอยู่หน้า after, before, since ให้ทำตามกฎของมัน ก็คือ
-                   ละประธานในประโยคบอกเวลา ถ้ามันหมายถึงคนเดียวกัน ของสิ่งเดียวกันกับในประโยค main clause
-                   ละ auxiliary verb ในประโยคบอกเวลา แล้วเปลี่ยน verb เป็น verb-ing เมื่อเป็นประโยค active เลย แต่ถ้าประโยคบอกเวลานั้นเป็น past หรือ present perfect กริยา has/have/had เปลี่ยนเป็น having แต่ถ้าประโยคเป็น passive ให้เปลี่ยนเป็น being + past participle เลย
แต่ถ้าประโยคขึ้นต้นด้วย After, Before หรือ Since สามารถลดรูปแล้วเริ่มต้นด้วย V-ing
ได้เลยไม่ว่าจะเป็นประโยค active หรือ passive
            ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คือการลดรูปของ Adverb of Time ซึ่งก็จะมีวิธีการลดรูปทั้งแบบ active และแบบ passive ในกรณีที่ประธานในประโยค Adverb of Time และใน main clause เป็นประธานเดียวกัน คือเป็นคนๆเดียวกันหรือเป็นของสิ่งเดียวกัน หรือเป็นประธานทั่วๆไปที่ไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจงก็สามารถที่จะลดรูปได้เหมือนกัน แต่ถ้าเป็นประธานคนละคน ของอย่างละสิ่งกันในประโยค Adverb of Time และ main clause นั้นไม่สามารถที่จะลดรูปได้













                                    Learning Log นอกห้องเรียน 4
            การที่เราจะฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งขึ้นได้นั้น ไม่ใช่เพียงแต่ศึกษาในตำราอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งวันนี้ดิฉันก็ได้ไปศึกษาค้นคว้านอกห้องเรียนในหัวข้อที่ว่า วิธีการฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งนอกตำรา จากเว็บไซต์พันทิป ซึ่งมีคนมาตั้งกระทู้แชร์ไว้และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เหมาะกับหลายๆคนที่อยากจะฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งมากยิ่งขึ้น โดยการที่จะฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งขึ้นได้นั้น อันดับแรกเลยก็ต้องฝึกที่ตัวเราก่อน เพราะถ้าตัวเราอยากจะเก่ง เราก็จะมีความพยายามและความตั้งใจมากยิ่งขึ้นในการที่จะฝึกภาษาอังกฤษ
            การฝึกภาษาอังกฤษในกระทู้วิธีการฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งนอกตำรา จากเว็บไซต์พันทิปนี้มีอยู่ 3 สเต็ปด้วยกัน สเต็ปแรกเลยก็คือก็คือการปรับ mindset นั่นคือเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีคนจำนวนมากที่ทำให้หมดกำลังใจในการฝึกภาษาอังกฤษ เช่น พูดชัดไป = โชว์พาว, พยายามพูดให้ชัด = กระแดะ, พูดไม่ชัด = อ่อน ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนความคิด ความกลัวเหล่านี้ให้กลายเป็นความกล้า คือจะต้องหยุดคิดว่าตัวเองทำไม่ได้ เช่น ต้องฝึกฟังเพลงหรือการสนทนาของชาวต่างชาติตาม youtube ต่อมาคือจำไว้ว่าไม่จำเป็นจะต้องฝึกเหมือนคนอื่นและอย่ามีข้ออ้างในการฝึกภาษาอังกฤษ
            สเต็ปที่ 2 ก็คือเตรียมเครื่องมือการฝึกอย่าง dictionary ฟรีใน chrome คือ double-click ไปที่คำศัพท์นั้นเมื่อไหร่ก็จะมีคำแปลให้ทันที ถ้าเป็นคำศัพท์แลงก็จะเข้าไปแปลในwww.urbandictionary.com ซึ่งมันก็จะอธิบายออกมาว่าคืออะไร
            สเต็ปสุดท้ายก็คือการฝึก เช่นการดูหนัง ดูซีรีส์ ซึ่งควรดู 2 รอบ รอบแรกให้ดูแบบ soundtrack + sub ภาษาไทย คือดูให้รู้เนื้อเรื่องจับใจความให้ได้ รอบที่ 2 ให้ดูแบบ soundtrack + sub ภาษาอังกฤษ รอบนี้ให้ดูเอาคำศัพท์ที่น่าสนใจ
            ดังนั้นการฝึกการฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งขึ้นได้นั้น ไม่จำเป็นที่จะศึกษาเท่าแต่ในตำราหรือแค่ภายในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังสามารถศึกษาได้จากนอกตำราได้อีกมากมาย อย่างเช่นศึกษาจากในโลกโซเชียลมีเดีย จากอินเทอร์เน็ต ฝึกการใช้ภาษาจากการฟังใน youtube และที่สำคัญที่สุดคืออย่าท้อ หมดหวังกำลังใจในการที่จะฝึกฝนหรือพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษของเรา เพราะทุกคนที่เก่งอยู่ในทุกวันนี้นั้นก็เริ่มต้นมาจาก 0 ด้วยกันทั้งนั้น

















                                    Learning Log นอกห้องเรียน 5
            สำหรับการเรียนรู้นอกห้องเรียนนั้นได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องของ Adjective Clause ไปว่ามันคืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร และใช้ยังไงบ้างแล้ว วันนี้ดิฉันก็ได้ไปศึกษานอกห้องเรียน เกี่ยวกับ Clause ประเภทอื่นๆอีก นอกจาก Adjective Clauseนั้น ก็ยังมี Noun Clause และ Adverb Clause อีกด้วย ซึ่ง Clause ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นก็คือ Subodinate Clause หรือประโยคที่ไม่มีใจความสมบูรณ์ในตัวเอง ซึ่งจะต้องไปอาศัยประโยคหลักหรือ Main Clause อยู่นั่นเอง
            Noun Clause คือประโยคนั้นทั้งประโยคถูกนำมาใช้ทำหน้าที่เป็นนามหรือเสมือนนาม ซึ่งลักษณะประโยคก็คือจะขึ้นต้นด้วยคำของมันเอง ด้วยคำดังต่อไปนี้ who, that, which, where, when, why, who, whom, where, how ซึ่งจำทำหน้าที่ได้หลายอย่างในหลักไวยากรณ์ เช่นเดียวกับคำนามทั่วไปก็คือ
1.            เป็นประธานของกริยา
2.            เป็นกรรมของกริยา
3.            เป็นกรรมของ Preposition
4.            เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา
5.            เป็นนามซ้อนนามของนามที่อยู่ข้างหน้า
Adverb Clause คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนกริยาวิเศษณ์ตัวหนึ่งที่ใช้ขยายกริยา
หรือคำคุณศัพท์ในประโยคหลัก หรือใช้ขยายประโยคหลักเพื่อแสดงถึงวัตถุประสงค์บางประการ และจะตามหลังคำสันธานที่ใช้เชื่อม ซึ่ง จะมีอยู่ 9 ประเภทด้วยกันคือ
1.            Adverb Clause of Time
2.            Adverb Clause of Place
3.            Adverb Clause of Manner
4.            Adverb Clause of Reason
5.            Adverb Clause of Purpose
6.            Adverb Clause of Concession
7.            Adverb Clause of Comparison
8.            Adverb Clause of Resul
9.            Adverb Clause of Condition
ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็คือ Noun Clause และ Adverb Clause ซึ่งก็จะมีลักษณะและการ
ใช้ของ Clause เหล่านี้ สิ่งเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งในการเรียน เพราะเราจะต้องรู้ว่ามันคืออะไร ใช้ยังไง ซึ่ง Noun Clause ก็จะเหมือนคำนาม Adverb Clause ก็จะเหมือนคำกริยาวิเศษณ์ เพียงแค่เป็นอนุประโยคก็เท่านั้น และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเราในด้านการแปล เพราะจะทำให้เรารู้และเข้าใจประโยคเหล่านี้ตามบทความต่างๆอีกด้วย











                                    Learning Log นอกห้องเรียน 6
            การเรียนรู้นอกห้องเรียนของดิฉันในอาทิตย์นี้คือการไปทบทวนเรื่อง Adjective Phrase มาเพราะว่าในคาบอาจารย์ได้ให้เขียนเกี่ยวกับประโยคของ Adjective Phrase และการฝึกทักษางด้านการฟัง ไม่ว่าจะเป็นเพลงหรือการดูหนัง ซึ่งจะเป็นภาษาอังกฤษ ซับภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน ทั้งนี้การเรียนรู้นอกห้องเรียนจะช่วยทำให้เราเขาใจคำหรือความหมายของสิ่งต่างๆที่เราอยากจะเรียนรู้ อยากจะเข้าใจ รวมไปถึงสิ่งที่ไม่เข้าใจ ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น
            สำหรับการทบทวนเรื่อง Adjective Phrase นั้น Adjective Phrase จะทำหน้าที่เป็นคำ Adjective เพื่ออธิบายหรือขยายคุณลักษณะของคำนามหรือคำสรรพนาม ให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เราจะพบในตำแหน่งต่างๆดังนี้
1.            อยู่ก่อนคำนาม
2.            อยู่หลังคำนามหรือสรรพนาม
3.            ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของ linking verb หรือเป็นส่วนเติมเต็มของกรรม
และสำหรับการฝึกทักษะการฟังก็คือการฟังเพลงภาษาอังกฤษ ซึ่งจะฟังแบบมีเนื้อร้อง
ภาษาอังกฤษด้วยอย่างเช่นเพลง See you again ของ Wiz Khalifa ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ที่ชอบเลยอยากทำให้อยากฟังมากที่สุด และฟังอีกหลายๆเพลง และอีกอย่างในการฝึกการฟังคือการดูหนังพากย์ภาษาอังกฤษ และก็มีซับเป็นภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน
            ดังนั้นการเรียนรู้นอกห้องเรียนของดิฉันคือการไปทบทวนเรื่องที่เรากำลังจะเรียนว่าเป็นอย่างไรอย่างการไปทบทวนเรื่อง Adjective Phrase ตามที่อาจารย์ได้ให้ประโยคมา และการที่ฝึกทักษะทางด้านการฟังของดิฉัน ซึ่งก็เริ่มจากที่ชอบ อย่างสื่อทางด้านบันเทิงอย่างเช่นการดูหนังฟังเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งเนื้อเพลงและซับหนังที่เป็นภาษาอังกฤษจะทำให้เราเข้าใจความหมายและจับใจความได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

                                    Learning Log นอกห้องเรียน7
            การเรียนรู้นอกห้องเรียนของดิฉันในสัปดาห์นี้คือการฝึกพัฒนาทักษะทางด้านการฟัง ซึ่งมาจากการฟังเพลงภาษาอังกฤษ และการฝึกพัฒนาทักษะทางด้านการอ่าน ซึ่งมาจากการอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน เพื่อที่จะทำให้ดิฉันฟังและอ่านภาษาอังกฤษออก ว่าคำไหนอ่านว่าอย่างไร แปลว่าอะไร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษว่าเราพัฒนาขึ้นบ้างไหม และก็ไปศึกษาก่อนเรียนในเรื่องของ If Clause มาเพื่อที่จะได้เตรียมตัวเข้าสู่บทเรียนสำหรับการเรียนในคาบหน้า
            การฝึกพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทางด้านการฟังก็คือการฟังเพลงสากลทั่วไป ซึ่งมีเนื้อเพลงเป็นภาษาอังกฤษ แต่รอบแรกๆจะลองฟังแบบไม่มีเนื้อเพลงดู เพราะต้องการทดสอบตัวเองว่าฟังออกไหม ส่วนใหญ่ก็จะจับ key words เอา พอรอบหลังก็จะฟังและก็ดูเนื้อเพลงไปด้วย เพื่อหาศัพท์ที่เราไม่รู้และฟังไม่ออก ก็จะไปค้นหาความหมายดูว่าคืออะไร
            ต่อมาก็คือการฝึกพัฒนาทักษะทางด้านการอ่าน คือการอ่านหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษ โดยปกติก็อ่านหนังสือพิมพ์ทุกวันอยู่แล้วแต่เป็นภาษาไทย พออ่านภาษาอังกฤษ คำไหนที่เราไม่รู้ความหมาย เราก็จะต้องค้นหาความหมายเพื่อให้รู้อีกเช่นกัน ซึ่งการหาคำศัพท์ที่เราไม่รู้เหล่านี้จะช่วยให้เรารู้จักคำศัพท์ใหม่ๆมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
            ต่อมาคือการไปศึกษาเรื่องของ If Clause มาเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่บทเรียนในสัปดาห์ถัดไป ซึ่งมันก็คือประโยคแสดงเงื่อนไขนั่นเอง ซึ่งจะประกอบด้วยอนุประโยค 2 ประโยค ประโยคนึงจะขึ้นต้นคำว่า If กับอีกประโยคจะเป็นประโยคสมบูรณ์ทั่วไป สามารถสลับที่กันได้ ซึ่งจะแบ่งได้ดังนี้คือ
1.            ประโยคที่ใช้สำหรับพูดความจริงทั่วไป โดยใช้ present simple ทั้ง 2 ประโยค โครงสร้างคือ If + S. + V.1,….. S. + V.1
2.            ประโยคที่ใช้สำหรับเหตุการณ์ที่เป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน คือใช้สำหรับพูดว่าถ้าสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น อีกสิ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น
โครงสร้างคือ  If + S. + V.1,…… S. + will/be going to + V.1
3.            ประโยคที่ใช้กับเหตุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในปัจจุบันหรืออนาคต ใช้พูดถึงความใฝ่ฝันในอนาคตแต่ไม่อาจเกิดขึ้นได้หรือใช้พูดถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันที่เป็นไปไม่ได้เลย ไม่จริงเลย
โครงสร้าง คือ If + Past Simple,…… would + infinitive
4.            ใช้กับเหตุการณ์ที่ตรงข้ามความจริงในอดีต คือใช้พูดเกี่ยวกับอดีตที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง
โครงสร้าง คือ If + Past Perfect,…… would + have + Past Participle
สำหรับการเรียนรู้นอกห้องเรียนของดิฉันก็คือทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ก็คือการที่ไป
ฝึกพัฒนาภาษาอังกฤษทั้งทางด้านการฟังและการอ่าน ซึ่งจะทำให้เรารู้คำศัพท์ใหม่ๆที่เราไม่เคยรู้มาก่อนได้อีกด้วย อีกทั้งยังได้ไปศึกษาเรื่องของ If Clause  ว่าคืออย่างไร มีกี่ประเภทและมีโครงสร้างอย่างไร เพื่อที่จะเตรียมตัวเข้าสู่บทเรียนในคาบถัดไป เพื่อที่จะช่วยให้เราเข้าใจในเนื้อหาได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
Learning Log นอกห้องเรียน 8
                    การเรียนรู้นอกห้องเรียนในสัปดาห์นี้ของดิฉันก็คือการพัฒนาทักษะทางด้านการฟัง เพราะโดยปกติชอบฟังเพลงต่างๆอยู่แล้ว รวมไปถึงการดูหนังแบบ sound tract เพื่อจะพัฒนาทั้งด้านการฟังและได้คำศัพท์ใหม่ๆอีกด้วย รวมถึงประโยคที่ใช้สนทนากันจริงๆจากในหนัง ซึ่งการฝึกเหล่านี้จะต้องฝึกจากสิ่งที่เราชอบจะได้เป็นตัวกระตุ้นให้เราอยากจะทำ อยากจะพัฒนามากยิ่งขึ้นนั่นเอง
                     เพลงแรกที่ฝึกฟังก็คือเพลง Safe and sound ของ Taylor Swift ก็คือเป็นในยูทูปฟัง แรกๆฟังก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ แต่พอยังจับใจความได้บ้าง และรอบหลังๆก็ฟังแบบมีเนื้อเพลงด้วยเพื่อที่จะทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
                    ต่อมาก็คือเพลง Someone like you ของ Adale ที่เลือกฟังเพลงนี้ก็เพราะชอบการร้องของนักร้องคนนี้ เสียงมีพลังและดนตรีก็เพราะ เพลงนี้จะยากตรงการออกเสียง ed เพราะจะฟังไม่ค่อยออกจนได้ดูเนื้อร้อง แล้วก็ไปฝึกฟังดูใหม่ว่าเขาออกเสียงยังไง
                   ต่อมาภาพยนตร์ที่ได้ไปดูมาก็คือเรื่อง Battle Ship ที่เลือกดูเพราะชอบพระเอกมาก เลยทำให้อยากดู ดูกี่รอบก็ไม่เบื่อ โดยดูแบบ sound tract ก็คือเป็นหนังเกี่ยวกับทหารเรือซึ่งก็มีพระเอกอยู่ด้วยต่อสู้กับมนุษย์ต่างดาว โดยเริ่มมากจากฝีมือมนุษย์นั่นเอง เป็นหนังที่สนุก และภาษาที่ใช้ก็ไม่ยากเกินไปด้วย
                   ทั้งหมดนี้ก็คือการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษของดิฉัน คือดิฉันจะเลือกจากการฟังก่อน เพราะปกติจะชอบฟังอยู่แล้วและจากการดูหนังโดยเลือกจากแนวหนังที่เราชอบและดาราที่เล่น จะทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะอยากดู คือจะดูหลายๆรอบก็ไม่รู้สึกเบื่อ และคำศัพท์ต่างๆที่เรายังไม่เคยรู้หรือเคยเห็นมาแล้วแต่จำไม่ได้ ก็จะช่วยให้เราจำคำศัพท์ได้ง่ายดายมากยิ่งขึ้น

                    Learning Logนอกห้องเรียน 9
                     การเรียนรู้นอกห้องเรียนในสัปดาห์นี้คือการไปศึกษาเรื่อง Noun Clause เพื่อที่จะเตรียมตัวเข้าสู่บทเรียนในคาบหน้าซึ่งอาจารย์ได้บอกไว้ล่วงหน้าแล้ว อีกอย่างนึ่งก็คือการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ซึ่งมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นคือการอ่านหนังสือพิมพ์และการฟังเพลงสากลตามเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งจะช่วยฝึกพัฒนาให้เราสามารถฟังสำเนียงของเขาออกได้อย่างถูกต้อง
                     Noun Clause คือเรื่องที่ดิฉันไปศึกษาค้นคว้ามาก่อนเรียน ซึ่ง Noun Clause ก็คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนคำนามซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งประธานและกรรมของประโยคก็ได้ ซึ่งวิธีสังเกต คือ Noun Clause มักจะขึ้นต้นประโยคด้วย that, which, what, how, where, when, why, who, whose, whom ซึ่งหน้าที่ของ Noun Clause ก็เหมือนกับคำนามทั่วไปก็คือ
1.            เป็นประธานของกริยา
2.            เป็นกรรมของกริยา
3.            เป็นกรรมของบุพบท
4.            เป็นส่วนสมบูรณ์ของกริยา
5.            เป็นคำนามซ้อนนามตัวอื่น
ประโยค Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย that นั้น ถ้าเป็นภาษาพูดเรามักจะละ that ไว้เสมอ
แต่ประโยคที่จะต้องใช้ that อยู่เสมอไม่สามารถละได้คือ
1.            เมื่อ that clause ขึ้นต้นประโยค
2.            เมื่อ that clause เป็นคำซ้อนนามที่อยู่ข้างหน้ามัน
3.            that clause อยู่หลัง It is
ต่อมาก็คือการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษทางด้านการฟัง โดยเลือกเพลง
 Party in the USA ของ Miley Cyrus เพลงนี้จะเป็นศัพท์ง่ายๆหมดเลย จะออกแนวเป็นศัพท์ที่ทันสมัยหน่อย ศิลปินก็ร้องเพลงแบบชัดถ้อยชัดคำมาก คือฟังแล้วรู้เรื่อง ฟังง่าย ทำให้เราสามารถเข้าใจและฟังเพลงได้อย่างง่ายๆ
               และทั้งหมดนี้ก็คือการไปศึกษานอกห้องเรียนของดิฉัน ซึ่งก็คือการไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องของ Noun Clause เนื่องจากจะได้เตรียมตัวเข้าสู่บทเรียนในสัปดาห์ถัดไป และการฝึกพัฒนาทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ โดยฝึกจากการฟัง โดยเลือกจากการฟังเพลงในอินเตอร์เน็ตหรือจากเว็บไซต์ยูทูบนั่นเอง
                                                                                                     
              
                                                                                                      นนน



                                    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น